บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ


1. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน


เทคโนโลยี

ความหมายของเทคโนโลยีคำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"*** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม*** สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล*** ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง*** ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจาก การที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)ที่มา : http://arc.rint.ac.th

ตัวอย่างของเทคโนโลยี 

การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง
การลงทะเบียนเรียน
.


การลงทะเบียนเรียน



สารสนเทศ

แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศสารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ   1. ให้ความรู้   2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ   3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ   4. สามารถประเมินค่าได้แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ   1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน   2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆประโยชน์ของสารสนเทศ   1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ   2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน   3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ   4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น   5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน   1. การเก็บรวบรวมข้อมูล   2. การตรวจสอบข้อมูล   3. การประมวลผล   4. การจัดเก็บข้อมูล   5. การวิเคราะห์   6. การนำไปใช้     ในปัจจุบันสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก    ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา  เศรษฐกิจ  สังคม  หรือแม้แต่การเมืองการปกครอง  ที่สารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  ซึ่งอาจจะเรียกยุคนี้ว่าเป็น  ยุคสังคมสารสนเทศ  หรือ  Information Age Society  ที่ข้อมูลข่าวสาร  สารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาประเทศ  ซึ่งมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ซึ่งทุกศาสตร์  ทุกวงการ  ล้วนนำสารสนเทศเข้าไปใช้ประโยชน์หรือใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาต่างๆ  จากคำกล่าวที่ว่า  Information is Power  หรือ  สารสนเทศคืออำนาจ  สามารถชี้วัดได้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรได้  โดยสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ  และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น   หากบุคคลากรในองค์กรรู้จักใช้สารสนเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน  พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาองค์กรในทางอ้อม  ทั้งนี้เพราะสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างกว้างๆ คือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศที่เป็นตัวอย่างในการใช้หรือบริโภคสารสนเทศ  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุดในปัจจุบัน   เป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ มากที่สุดในเอเชีย ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จและพัฒนาให้ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระดับชั้นนำของโลกได้นั่น เป็นเพราะว่า ประเทศญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของสารสนเทศ  มีการเรียนรู้การใช้สารสนเทศได้เป็นอย่างดี   สังคมในปัจจุบันมีลักษณะเป็นสังคมข่าวสาร  ที่มีการพัฒนาประเทศทุกด้านอย่างกว้างขวาง  มีการค้นคว้า  การวิจัย  การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ขึ้นมา  ซึ่งก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ  ที่ล้วนต้องการสารสนเทศมากขึ้น  และทำให้ปริมาณสารสนเทศมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภคสารสนเทศอย่างมากในการที่จะเข้าตัวสารสนเทศได้ตามที่ต้องการ การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ     การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนร่วม    ในยุคสมัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไร้ขีดจำกัด  การรู้สารสนเทศในแต่ละคนแต่ละพื้นที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น และยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น  กับการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในสังคมสารสนเทศ  ได้มีนักสารสนเทศศึกษาและเล็งเห็นความสำคัญของการรู้สารสนเทศ  โดยสรุปถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศในแง่มุมที่น่าสนใจ ดังนี้1. เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ2. ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้3. ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ4. มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด5. มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้6. สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้การรู้สารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศ ว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เพราะการรู้สารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นกลไกนำพาให้บุคคลมีการพัฒนาคุณภาพของตนอยู่เสมอ และหากประเทศใดประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถือว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นย่อมมีคุณภาพดีกว่าประเทศอื่นๆ และการรู้สารสนเทศยังเป็นวิธีแห่งการมีอำนาจของบุคคลในสังคมสารสนเทศอีกด้วย ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศในยุคนี้ที่มาhttp://www.gotoknow.org/posts/376670

ตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอก่สทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการ




เรียนการสอนตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา



เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม2. ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน3. ความหมายของข้อมูลข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว4. ความหมายของสารสนเทศสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้5. ลักษณะสารสนเทศที่ดีเนื้อหา (Content)ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)ความถูกต้อง (accuracy)ความเชื่อถือได้ (reliability)การตรวจสอบได้ (verifiability)รูปแบบ (Format)ชัดเจน (clarity)ระดับรายละเอียด (level of detail)รูปแบบการนำเสนอ (presentation)สื่อการนำเสนอ (media)ความยืดหยุ่น (flexibility)ประหยัด (economy)เวลา (Time)ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)มีระยะเวลา (time period)กระบวนการ (Process)ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)การมีส่วนร่วม (participation)การเชื่อมโยง (connectivity)6. ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน7. องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)Sorry, your browser doesn't support Java(tm).- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ8. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศประสิทธิภาพ (Efficiency)ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วยช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมากช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันทีระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหากระบบสารสนเทศนั้นออกแบบ เพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้นประสิทธิผล (Effectiveness)
ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วยความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)
ที่มาhttp://www.gotoknow.org/posts/376670

ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข



ข้อมูล

ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)
" กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"
ลักษณะข้อมูล
1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว
2. ข้อมูลที่คำนวณได้ ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ
ประเภทของข้อมูล
1. ข้อมูลเพื่อการวางแผน หมายถึง ข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนงานการบริหาร ใช้ในการควบคุม การตัดสินใจ โดยได้มีการสรุปเป็นหมวดหมู่เป็นตาราง มีการคำนวณ จัดเรียงลำดับ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สารสนเทศ
2. ข้อมูลการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
3. ข้อมูลอ้างอิง หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง
ที่มาhttp://www.gotoknow.org/posts/376670

2.โครงสร้างสาระสนเทศมีอะไรบ้าง
สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เราแบ่งระดับสารสนเทศออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับส่วนบุคคล ระดับกลุ่มหรือแผนก ระดับองค์กรและระดับระหว่างองค์กร โดยทุกระดับจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อประกอบกัน และให้ได้ประโยชน์จากสารสนเทศ ประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ชั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฏระเบียบต่าง ๆ และตัวบุคลากรเอง

ศูนย์สารสนเทศขององค์กร คือหน่วยงานที่จะบริหารและจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ที่ต้องลงทุนทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ศูนย์สารสนเทศขององค์กรตามแนวความคิดใหม่ จึงต้องประสานกับธรรมชาติของการทำงานขององค์กรที่มีบุคลากรเป็นแกนนำ เพราะบุคลากรทุกคนย่อมเป็นผู้ใช้สารสนเทศ และยังต้องมองเลยไปเป็นระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระดับระหว่างองค์กร การทำงานในทุกระดับจะต้องประสานการใช้ประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้สูงสุดลักษณะและจุดมุ่งหมายของศูนย์สารสนเทศคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาการมาจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง โดยการใช้ประโยชน์จึงเริ่มจากการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันในอดีต มีศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาพีซี แนวคิดจึงเริ่มจากการพัฒฒนาให้ระบบใช้งานส่วนตัว และต่อมาพัฒนาเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน ดังนี้นลักษณะของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีลักษณะตามสภาพของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล ระบบเครือข่าย รูปแบบการช้ระบบคอมพิวเตอร์จึงมีรูปแบบดังนี้

การใช้แบบเครื่องหลัก (Host base) ในยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาแพง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเมนเฟรม ซึ่งมีการจัดการฐานข้อมูลอยู่ส่วนกลางและแบ่งการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์หลักเป็นเครื่องที่รวมทรัพยากรทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง ผู้ใช้เพียงแต่ต่อสายออนไลน์ และใช้กำลังการคำนวณทั้งหมดจากเครื่องหลัก สถานีปลายทางจึงเป็นเพียงแค่เทอร์มินัลเท่านั้น

การใช้งานแบบเครื่องหลัก


 การใช้งานแบบเครื่องหลัก เพื่อเป็นการสนับสนุนข้อมูลข่าวสารขององค์กร

การใช้งานแบบเครื่องเดี่ยว (stand alone) เมื่อมีการพัฒนาพีซีให้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จึงมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สนับสนุนพีซีให้ช่วยงานระดับบุคคล ดังนั้นการประยุกต์ใช้งานระดับบุคคลจึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์พื้นฐนที่เรียกว่าโปรแกรมสำเร็จรูปให้ใช้งานได้มาก เช่น ใช้ช่วยในการพิมพ์เอกสารหรือเรียกว่า เวิร์ดโปรเซสเซอร์ ใช้คำนวณบนตารางที่เรียกว่าสเปรตซีต ใช้ในการเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลขนาดเล็ก ใช้เพื่อนำเสนอผลงาน
เครื่องพีซีทำให้เกิดระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล


เครื่องพีซีทำให้เกิดระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

ระบบแลนและไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ เมื่อพีซีมีขีดความสามารถสูงขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีได้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมโยงเข้าถึงกัน และใช้งานร่วมกัน ระบบแลนที่ใช้จึงเริ่มจากการสนับสนุนงานระดับกลุ่ม ระดับแผนกที่มีการทำงานร่วมกัน ใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน เช่น ใช้ไฟล์ใช้ข้อมูล ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ตลอดจนเครื่องพิมพ์ร่วมกัน สภาพการทำงานบนเลนส่วนหนึ่งมีลักษณะการทำงานแบบ ไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์ กล่าวคือมีสถานีบริการกลางที่ให้บริการร่วมกันทั้งกลุ่ม โดยผู้ใช้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีของตนเองเชื่อมโยงกับเครือข่ายแลน เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เรียกว่า ไคลแอนด์ ส่วนสถานีบริการกลางเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ เช่น ถ้ามีระบบฐานข้อมูลกลางที่ให้บริการกลางร่วมกันก็เรียกว่า ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องไคลแอนต์เรียกค้นข้อมูลข่าวสารจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได ้รูปแบบการทำงานแบบนี้จึงเป็นการลดขนาดของเซิร์ฟเวอร์ลงจากโฮสเบส เพราะสถานีย่อยคือไคลแอนต์สามารถช่วยดำเนินการบางอย่างเองได้ และการทำงานในระดับไคลแอนต์ที่สำคัญคือ มีส่วนช่วยในการติดต่อกับผู้ใช้ที่จะแสดงผลแบบกราฟฟิก


เครือข่ายแลนสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม



 เครือข่ายแลนสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม



การเชื่อมต่อแลนเป็นอินทราเน็ต

 
มื่อนำเวอร์กกรุ๊ปหรือเครือข่ายแลนย่อย ๆ หลายเครือข่ายต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายขององค์กร มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารหลักที่เรียกว่าแบคโบน (backbone) เครือข่ายนี้จึงเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร ซึ่งอาจเรียกว่าเอ็นเตอร์ไพรสเน็ตเวอร์กหรืออินทราเน็ต ในระดับองค์กรจึงมีการบริหารจัดการเครือข่ายขององค์กร มีหน่วยงานดูแลเครือข่ายกลาง และดูแลทรัพยากรที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร ลักษณะการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอาจข้ามออกไปยังหน่วยงานที่อยู่ห่างไกล โดยเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายสาธารณะแบบแวน (wan) สภาพการทำงานภายในองค์กรยังมีลักษณะการใช้ทรัพยากรร่วมกันมีสถานีบริการที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้ใช้พีซีที่ต่ออยู่บนเครือข่ายเชื่อมโยงเรียกใช้บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ภายในองค์กรอาจมีฐานข้อมูลเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลางหรืออาจจะมีหลายเซิร์ฟเวอร์กระจายกันอยู่ก็ได้ ลักษณะการใช้งานบนเครือข่ายจึงสนับสนุนการทำงานตั้งแต่งานในระดับบุคคลที่ใช้พีซีของตนเองเป็นหลัก เชื่อมต่อใช้งานร่วมกันเป็นเครือข่ายในแผนก ในกลุ่มงานของตน ใช้สถานทีบริการเซิร์ฟเวอร์ในแผนกของตน และยังเชื่อมโยงกับองค์กรใช้งานในลักษณะร่วมกับส่วนกลางขององค์กร ดังนั้นทุกคนในองค์กรที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจึงสามารถเลือกใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ข้อมูลข่าวสารทั้งของกลุ่มและขององค์กรได้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้อีกด้วย ในเชิงเทคนิคนั้นระบบสารสนเทศระดับองค์กรจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้มข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันไว้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ มีการใช้เครือข่ายแลนเชื่อมโยงเครื่องมือพื้นฐาน อีกประการหนึ่งของระบบข้อมูลข่าวสาร คือระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สำคัญในการช่วยดูแลระบบข้อมูลและการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ

การใช้เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการทำงานในองค์กร

 การใช้เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการทำงานในองค์กร





การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การบริหารและการจัดการระบบสารสนเทศสมัยใหม่ ยังเน้นให้เกิดการทำงานแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (eBusiness) และมีการค้าขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าางองค์กรเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน

การเชื่อมโยงระหว่างกันในปัจจุบัน เน้นการใช้เส้นทางร่วมแบบสาธารณะ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ต ลักษณะการเชื่อมโยงออกสู่ภายนอก จึงมีลักษณะที่ต้องการสร้างวงจรเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร หรือการวิ่งผ่านเส้นทางสาธารณะร่วมกัน
การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร
การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายสากลที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยขององค์กรจำนวนมหาศาลเข้าด้วยกัน ทำให้ทุกองค์กรที่เชื่อมโยงเข้าถึงอินเทอร์เน็ตติดต่อถึงกันได้ และหากถ้ามีองค์กรใดสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงต่อออกไปภายนอก โดยเน้นการทำงานในขอบเขตจำกัด เช่น ให้บริการลูกค้าติดต่อเข้ามาได้ และไม่สามารถออกไปนอกเครือข่ายอย่างอิสระเหมือนอินเทอร์เน็ต เราก็เรียกว่า เอ็กซ์ทราเน็ต
ที่มา http://www.ku.ac.th/

3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้
                      ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล
                      ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)
                      ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
                      ในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า
                       ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ


ที่มา http://www.kruaksorn.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม